ควรให้เด็กอายุเท่าไหร่ถึงจะใช้ iPhone, iPad ได้ ? อ่านข้อแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเรื่องเด็ก

จากที่เคยไปบรรยายให้ผู้ปกครองหลายท่านได้ฟังเรื่องข้อแนะนำการใช้ Social Media และอุปกรณ์ไอทีสำหรับเด็กยุคนี้ คำถามยอดฮิตของหลายๆ ท่านคือ “แล้วตกลง เด็กต้องอายุแค่ไหนถึงจะเริ่มให้ใช้ iPhone, iPad ได้คะ ?“ เชื่อว่าหลายท่านน่าจะเคยอ่านผลกระทบหรือข้อเสียของการให้บุตรหลานเล่น Social Media หรืออุปกรณ์ไฮเทคหลายอย่างก่อนวัยอันควรไปแล้วบ้าง (อ่านเพิ่ม : นักจิตวิทยาเผย การให้เด็กเล็กเล่น iPad ถือเป็นการ “ทำร้ายเด็ก” โดยตรง) วันนี้เลยอยากขอแชร์เรื่องการให้เด็กใช้สมาร์ทโฟนหรือแทบเล็ต ว่ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญเรื่องเด็กเขามีความเห็นกันอย่างไรบ้างครับ ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีใช้งาน iPhone, iPad “เลย”  ข้อแนะนำจากสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (The American Academy of Pediatrics) ระบุว่า เด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบ ผู้ปกครองไม่ควรให้เด็กได้ใช้, สัมผัส, ดูหน้าจอ ของอุปกรณ์ไฮเทคเลย พูดง่ายๆ ว่าห้ามใช้เลยนั่นแหล่ะ ในกรณีนี้คือรวมถึงทีวีด้วยนะครับ เนื่องจากเด็กอายุไม่ถึง 2 ขวบนั้นยังเด็กเล็กมาก สมองยังอยู่ในช่วงพัฒนา รวมถึงดวงตาและการรับรู้ต่างๆ ยังไม่เหมาะที่เด็กจะรับสื่อภายนอกใดๆ เข้ามาในช่วงอายุนี้ […]

khajochi

October 10, 2015

ปายช้าปาย

ขณะที่กำลังเขียนบล็อกนี้อยู่ ผมกำลังนั่งสั่นกับอากาศเย็นสบายช่วงเที่ยงคืน หลังผ่าน 762 โค้งจากเชียงใหม่ขึ้นมาในสถานที่เที่ยวที่ฮ๊อตที่สุดในช่วง 4-5 ปีมานี้ … “ปาย” ในฐานะคนที่เพิ่งเคยมาปายครั้งแรก (เชยเน๊อะ) ตลอดทั้งวันนี้ผมพยายามมองหาว่าอะไรที่น่าสนใจบ้างที่ปาย ซึ่งจริงๆ แล้วปายก็มีสิ่งน่าสนใจหลายอย่างที่เห็นกันตามหนังสือท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นของที่ระลึก, เสื้อยืดปาย, ธรรมชาติ, ของกิน, ผู้คน ฯลฯ แต่สิ่งนึงที่ผมสังเกตุเห็น และก็ได้อะไรจากสิ่งนั้นมากเลยตลอดช่วงวันสองวันที่อยู่ที่นี่ นั่นคือความ “ช้า” แบบปาย ด้วยความที่เราทำงานในสายไอที เรียนมาทางวิศวะ ก็แน่นอนว่าเราเชื่อในความ “เร็ว” ตลอดเวลาเราจะถูกสอนมาเสมอว่าต้องทำให้เร็ว คิดให้ไว ทำทุกอย่างด้วยความเร่งรีบ ผมพบว่าโลกที่ “ปาย” คือโลกแห่งความค่อยเป็นค่อยไป โลกที่ไม่ต้องมี Push Notification ก็อยู่กันได้, โลกที่ไม่ต้องกดไลค์, โลกที่ไม่ต้องตอบคำถามให้ได้ภายใน 3 วินาที, โลกที่ไม่ต้องติดตามอะไรแบบที่ต้องรู้เป็นคนแรกให้ได้ถึงจะเท่ห์ วันนี้ระหว่างที่กินข้าวเย็นอยู่ร้านในตัวเมืองปาย ผมหันไปสั่งป้าคนหนึ่งที่กำลังปิ้ง “ข้าวปุกงาดำ” ของกินขึ้นชื่อของอำเภอปายแห่งนี้ “ป้า ขอขนมที่นึง” ผมยกมือเรียก“เจ้า … ได้เจ้า …..” ป้ายิ้มรับ […]

khajochi

March 5, 2012

การบ้านปิดเทอม

โดยปกติแล้วหลังกลับจากงานสัปดาห์หนังสือจะต้องมีติดไม้ติดมือกลับมาซัก 5 เล่มเป็นอย่างน้อย แต่ด้วยชีวิตในช่วงนี้หาเวลาอ่านหนังสือได้น้อยมาก (แต่มีเวลาเล่นเกมส์ ?) ก็เลยเริ่มลดจำนวนที่ซื้อลงมาเรื่อยๆ ตั้งใจไว้ว่าปิดเทอมทั้งทีจะไล่อ่านหนังสือที่ค้างใน stock ให้จบทั้งหมด แต่แล้วจนถึงตอนนี้จะเปิดเทอมแล้ว อ่านจบไปแค่เล่มกลางเล่มเดียว หมอก – a book , ทรงกลด บางยี่ขัน เมฆ – a book , ทรงกลด บางยี่ขัน Freakonomics เศรษฐพิลึก – Steven D. Levitt & Stephen J. Dubner (อ่านจบแล้น) เส้นรอบวงของหนึ่งวัน – วินทร์ เลียววาริณ The Google Story – David A. Vise & Mark Malseed The Last Lecture – […]

khajochi

May 18, 2009

เรียนภาษาอังกฤษผ่านเว็บกำลังบูมในเกาหลี

การเรียนผ่านทางอินเทอร์เน็ตไม่ใช่เรื่องใหม่ในยุค สมัยนี้ แต่ที่ประเทศเกาหลี การเรียนการสอนภาษาอังกฤษกำลังได้รับความนิยมอย่างสูง สูงถึงกว่าครึ่งหนึ่งของงบประมาณการเรียนการสอนภาษาอังกฤษทั่วทั้งประเทศ หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าที่เกาหลีใต้นั้น นอกจากจะเป็นประเทศที่มีอินเทอร์เน็ตเร็วที่สุดในโลกประเทศหนึ่งแล้ว ยังเป็นประเทศที่มีจำนวนนักศึกษาต่างชาติในสหรัฐอเมริกา รวมทั้งมีจำนวนผู้สมัครเข้าสอบ TOEFL มากที่สุดในโลกอีกด้วย (มากกว่าประเทศใหญ่ๆ อย่างอินเดียหรือจีน) จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่การเรียนการสอนภาษาอังกฤษจะเป็นเรื่องสำคัญและได้รับ ความสนใจอย่างมากในเกาหลี ในส่วนของเทคโนโลยีที่ใช้นั้นก็ไม่ได้มีอะไรใหม่ นอกจากใช้เว็บแคม ไมโครโฟน และต่อเข้าอินเทอร์เน็ตเพื่อรอพูดคุยกับอาจารย์ที่มักจะเป็นชาวต่างชาติ การเรียนในรูปแบบนี้จะได้ประโยชน์มากในเรื่องของความคุ้นเคยในการคุยกับชาว ต่างชาติ รวมทั้งพัฒนาสำเนียงการพูดได้ดี และก็สามารถใช้การพิมพ์พูดคุยกันได้ในกรณีที่ทั้งสองฝ่ายไม่เข้าใจในเรื่อง ที่กำลังพูดคุยอยู่อีกด้วย จะเห็นได้ว่าการพัฒนาระบบขั้นพื้นฐาน มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาประเทศจริงๆ ที่มา – Reuters

khajochi

October 9, 2008